วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

M-COMMERCE

อนาคตและทิศทางของ M-Commerce

  ในปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าสื่ออินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการประกอบธุรกิจและชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าหรือบริการ การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก  ส่วนในประเทศไทยนั้นกระแสความนิยมเกี่ยวกับเรื่องอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก  ทำให้ผู้ประกอบขนาดกลาง (SME)  และรายย่อยหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับช่องทางธุรกิจใหม่นี้รวมถึงการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก
M-Commerce คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce    ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้า ต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ สิ่งที่น่าสนใจ คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัดทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็น ตลาดที่น่ากลัว และเป็นสิ่งที่น่าจับตามองในช่วงนี้เพราะมีความสะดวกสบาย ไร้ซึ่งข้อจำกัดในการจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งคนในสังคมไทนคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพเคลื่อนที่กันอยู่แล้ว โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตังทางธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ โดย M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเจริญเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็คทรอนิคส์ ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce โดยที่ขอบเขตของ M-Commerce ครบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเองด้วย
เนื่องจากการขยายตัวด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ นวัตกรรมด้านระบบกาสื่อสารไร้สาย และความแพร่หลายของการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของอีคอมเมิร์ซมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากที่สุด เป็นผลให้ระบบการค้ารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ระบบการค้ามือถือ หรือ M-Commerce ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้ Concept ที่ว่า การค้าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกโอกาส การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้ เป็นกระบวนการในการสร้างรายการทางการค้า (Commercial Transactions) ผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมเคลื่อนที่  (Mobile Telecommunications networks) โดยอาศัยการสื่อสาร ข้อมูล และอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ PDA หากพิจารณารูปแบบของ M-Commerce นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคด้วยกันคือ คือ ยุคที่เริ่มมีการใช้ SMS (Short Messages Services) ซึ่งนับได้ว่าเป็นยุคแรก  สำหรับยุคที่สองนั้นเป็นยุคที่มีการนำเอา WAP (Wireless Application Protocol) มาใช้เพื่อการติดต่อผ่านเว็บ ในขณะที่ยุคที่สามเป็นการก้าวเข้าสู่เรื่องของบรอดแบนด์ ซึ่งผู้ใช้มีความต้องการความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่สูงขึ้น ในขณะที่การส่งข้อมูลจะเป็นการเน้นในเรื่องของการรับ-ส่งภาพ (Image) และภาพเคลื่อนไหว (Video Clip) นอกเหนือจากเรื่องของเสียง (Voice) และข้อความ (Text) อย่างที่ผ่านมา และการใช้เทคโนโลยี “Always on” เพื่อการเชื่อมต่อตลอดเวลา SMS เป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการดำเนินการค้าในลักษณะของ M-Commerce และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านสังคม โดย SMS จะเป็นการส่งข้อมูลสั้นๆ (มีความยาวไม่เกิน 160 ตัวอักษร) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งในระยะเริ่มแรกนั้น การใช้ SMS จะมีวัตถุประสงค์ในการแจ้งเตือนเจ้าของโทรศัพท์มากกว่าจะเป็นการนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น และมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศ อย่างเช่น ในระหว่างปี ค.. 2000 ทวีปยุโรปมีการใช้งาน SMS มากถึง 2 พันล้านข้อความต่อเดือน แม้ว่าการสื่อสารในลักษณะของ SMS จะเป็นที่แพร่หลาย และถูกนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร แต่ในยุคที่ผู้คนต่างก็มีความจำเป็นในการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงบริการต่าง ๆ จากเว็บไซต์ ทำให้ WAP ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในช่วงปลาย ค.. 1999 ถึงต้นปี ค.. 2000 ทำให้ผู้ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถที่จะใช้บริการ หรือโต้ตอบผ่านเว็บไซต์ต่างๆได้ รูปแบบของการใช้ WAP จึงเป็นการเข้าใกล้รูปแบบการค้าในลักษณะที่เป็น M-Commerce มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจที่ดำเนินการค้าอยู่ในปัจจุบันมี การพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการขาย และการให้บริการผ่านเว็บไซต์ทั้งสิ้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุปกรณ์สื่อสาร ได้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่, PDA (Personal Digital Assistant) และอุปกรณ์ด้านคอนซูมเมอร์อื่นๆ อันได้แก่ Walkman, กล้องดิจิตอล ฯลฯ จึงทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และบริการใหม่ๆ ในลักษณะของ M-Commerce เกิดขึ้นมากมาย โดย I-Mode เป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ คือ มีจำนวนหน้าของผู้เข้ามาใช้บริการถึง 40 ล้าน Hits ต่อวัน (ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บได้มากถึง 6 พันเว็บ) และ Yahoo ที่ประเทศญี่ปุ่นมีมากถึง 80 ล้าน Hits ต่อวัน สำหรับประเทศไทยแล้ว กำลังเริ่มเข้าสู่ยุคที่สาม นั่นคือ การที่เครือข่ายไร้สายกำลังอยู่ในขั้นที่สามารถช่วยให้การรับ-ส่งข้อมูลมีความเร็วที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ GPRS (General Package Radio Service) หรือ การให้บริการของผู้ให้บริการรายใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีของ CDMA (Code Division Multiple Access) การรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบของเสียง (Voice) และข้อมูล (Text) จะเปลี่ยนไปสู่มัลติมีเดีย อย่างไรก็ตาม บริการ SMS ยังเป็นบริการที่กำลังสร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการ แม้ว่าความแพร่หลายจะล่าช้า
เทคนิคที่ทำให้ M-Commerce เกิดขึ้นมา ในบ้านเราก็ใช้เทคนิคของการสื่อสารบนอุปกรณ์มือถือที่เคยได้ยินกันบ่อยๆคือ SMS หรือการบริการรับข้อมูลแบบสั้น ,STK(SIM Tool Kit) และ WAP (Wireless Application Protocal) ระบบการทำงาน STK เริ่มจากเครื่องโทรศัพท์มือถือจะใช้แผ่น SIM ที่เรียกว่า SIM ToolKit ซึ่งเก็บข้อมูลของผู้ใช้เครื่องและระบุโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยเฉพาะ เมื่อเรากดปุ่มข้อมูลที่เครื่องโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ศูนย์บริการรับส่งข้อมูล จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยัง M-Commerce Server ของผ็ให้บริการ ซึ่ง Server นั้นจะมีการเชื่อมต่อกับระบบขงธนาคารโดยอาศัยเครือข่ายที่ผู้ให้บริการและธนาคารทำการเชื่อมต่อกันโดยตรง ก่อนที่ข้อมูลจะเข้าถึง Server ของธนาคารได้ก็ต้องผ่านระบบรักษความปลอดภัยของธนาคารด้วย ซึ่งอาศัย Firewalls, ระบบมาตรฐาน SSL (Secure Socket Layer) และการเข้ารหัสแบบ Triple DES ซึ่งเป็นระบบความปลอดภัยแบบ end-to-end ส่วนการทำงานด้วยระบบ WAP นั้นข้อมูลจาก WAP phone จะถูกส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือมายัง WAP Gateway โดยจะใช้ระบบความปลอดภัยของ WAP ที่เรียกว่า WTLS (Wireless Transport Layer Security) เมื่อข้อมูลถูกส่งจาก WAP Gateway ไปยัง Server ของธนาคารก็จะใช้ระบบความปลอดภัยมาตรฐานแบบ SSL อุปกรณ์ WAP Gateway อาจตั้งอยู่ที่ผู้ให้บริการหรืออยู่ที่ธนาคารก็ได้ ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการกับธนาคารจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายถึงกันโดยตรง เช่น อาจใช้คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) เชื่อมต่อกัน และใช้ IP Network ในการติดต่อกัน การให้บริการด้วยระบบ STK กับระบบ WAP ยังมีข้อแตกต่างกันอีกบางอย่าง เช่น การใช้บริการในระบบ STK จะไม่เสียค่า air-line เพิ่ม ไม่มีการจองช่องทางสื่อสารข้อมูลค้างไว้ระบบ STK มี WAP Browser อยู่ใน SIM ส่วนระบบ WAP มี Browser อยู่ในตัวอุปกรณ์ ระบบ STK มีข้อจำกัดของความยาวในการส่งข้อมูลเพียง 140 characters/1SMS,8 bit ส่วน WAP มีข้อจำกัดเรื่องความเร็วในการส่งข้อมูลซึ่งขณะนี้ส่งได้ 9.6 kbps และการพัฒนาโปรแกรม ระบบ STK รองรับ WML Tags ได้น้อยกว่าระบบ WAP จึงทำให้โปรมแกรมของ WAP มี user Interface ได้มากกว่าเป็นต้น
ลักษณะสำคัญของ M-Commerce ที่มีผลทำให้มีจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ลดลง ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบกว่า E-Commerce ดังนี้
1. Mobility ความสามารถเคลื่อนย้าย เป็นจุดดึงดูดที่น่าสนใจ เนื่องจากระบบไร้สายได้สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคด้านสารสนเทศจากแหลางต่างๆ ที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึง ทำให้ผ็ใช้บริการสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ในทุกหนทุกแห่ง โดยผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่พกพาไปกับผู้ใช้งาน ซึ่งสะดวกกว่าการต้องพกพาเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ Notebook ที่นับวันจะมีขนาดเล็กลง บาง น้ำหนักเบามากขึ้นแล้วก็ตาม
2. Reach ability ความสามารถเข้าถึง หมายถึง บุคคลสามารถติดต่อ ณ เวลาใดๆ ที่ท่านสามารถกำหนดได้ เรียกได้ว่าสมัยนี้ใครๆก็สามารถเป็นเจ้าของโทรศัทพ์มือถือกันได้ไม่ยากนัก
3. Ubiquity  มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุกหนทุกแห่ง  จะเป็นได้ว่าปัจจุบันเราใช้งานโทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายมาก และใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ไม่ได้ใช้เฉพาะกลุ่มนักธุรกิจเหมือนอย่างในอดีต แต่ไปถึงแม่บ้าน นักศึกษาและกลุ่มมวัยรุ่น เป็นต้น
4. Convenience ความสะดวก ด้วยขนาดที่พกพาได้ง่าย ทำให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้ และใช้งานได้ไม่ยาก เพียงกดปุ่มไม่กี่ปุ่ม ถ้าเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ แล้วฟังก์ชันที่ทำงานบนมือถือยังสนองตอบการใช้งานที่ง่าย และใช้เวลาน้อยกว่า
นอกจากนี้ M-Commerce ยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจในด้านต่างๆ อีก คือ
1. โทรศัพท์เคลื่อนที่หาซื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีความแพร่หลายมากขึ้น ด้วยผลจากการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการเครือข่าย รวมถึงแรงผลักดันของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (เติมเงินได้) ทำให้การซื้อหาโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำได้ง่าย
2. ความสามารถในการติดตามตัวได้เสมอ ตราบใดที่ผู้ใช้บริการเปิดเครื่อง และอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณ การติดต่อสื่อสารจากเครือข่ายไปสู่เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำได้เสมอ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการมีสิทธิ์ที่จะระงับการติดตามตัวได้ในเวลาที่ต้องการ เช่น ระงับการโทรเข้า ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำได้เฉพาะการโทรออกเท่านั้น
3. กระบวนการรักษาความปลอดภัย โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันมี SIM การ์ด ซึ่งใช้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญของผู้ใช้บริการ พร้อมกับการเข้ารหัสข้อมูลไว้ หากต้องมีการรับ-ส่งข้อมูลกับระบบเครือข่าย ตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการใช้งานด้วยรหัสที่ไม่สามารถถอดออกโดยบุคคลที่ 3 ได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สนับสนุนเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol) เป็นต้น
4. ความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากการออกแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ให้มีความสวยงาม และใช้งานง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหน้าจอ การแสดงผล และการป้อนข้อมูล รวมทั้งการเพิ่มหน่วยความจำภายในตัวเครื่องให้มากขึ้น ทำให้สามารถใช้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น สมุดโทรศัพท์ รายการนัดหมาย หรือรหัสลับส่วนตัวต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้ M-Commerce ประสบความสำเร็จ คือ ในด้านความรู้และการใช้งานของโทรศัพท์ M-Commerce และความเข้าใจในความจำเป็นในการใช้งาน  อุปกรณ์เครื่องมือต่างของโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องสนับสนุนการใช้งานของ M-Commerce  รวมถึงการบริการข้อมูลต้องมีความหลากหลาย ซึ่งอาจจะสร้างขึ้น มาเอง หรือหาพันธมิตรเข้ามาร่วม  นอกจากนี้ราคาของอุปกรณ์สื่อสารต่างๆควรจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม  รวมถึงการมีบริการที่ตรงประเด็นจะเป็นกลไกชี้นำให้ผู้มาใช้บริการมาเลือกใช้กันมากขึ้นไม่ว่าเป็นการ ตรวจสอบ E-mail ตรวจผลการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล การทำนายดวงชะตา การจองบัตรภาพยนตร์ บัตรคอนเสิร์ต การสั่งดอกไม้ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังควรให้ความสำคัญในเรื่องของ Speed หรือความเร็วในการใช้งานย่อมมีความสำคัญต่อการใช้งานของผู้ใช้เป็นอย่างมาก  ราคาค่าบริการควรเป็นธรรมและดึงดูดผู้ใช้งาน ที่สำคัญ นอกจากจะรองรับการใช้งานภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลแล้วก็ควรจะรองรับภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน เป็นต้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือควรสามารถเข้าถึงได้ทุกลุ่มผู้ใช้งานทั้งบุคคลที่เป็นคนปกติและคนพิการ
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ M-Commerce ประสบความสำเร็จ คือ
- การใช้ประโยชน์จากข้อมูลตำแหน่งท้องถิ่น เทคโนโลยี Location Based Service ซึ่งจะทำให้เครือข่ายทราบได้ว่าผู้ใช้บริการแต่ละรายอยู่ ณ ที่แห่งใดได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถสร้างบริการ M-Commerce ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้บริการได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งสิ่ง่หล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้กับการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อทำธุรกรรมแบบ E-Commerce
- สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อติตต่อสื่อสารได้ในทันที ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลแบบใหม่ ในปัจจุบัน เช่น GPRS, WAP ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับแหล่งให้บริการ M-Commerce หรือบริการอินเตอร์เน็ตต่างๆ ได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการเชื่อมต่อวงจร ซึ่งความสามารถแบบใหม่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้เอง ที่น่าจะตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของมนุษย์เรามากที่สุด และน่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตของกิจกรรม M-Commerce
- การจัดการฐานข้อมูลส่วนบุคคล แม้ในปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่นจะมีความสามารถในการบันทึกข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้บริการ แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ๆ ที่มีหน่วยความจำมาก และมีการใช้เทคโนโลยีพัฒนาเป็นโปรแกรมพิเศษ  เช่น การใช้โปรแกรมแบบ Java2ME น่าจะเป็นจุดหักเหที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของกิจกรรม M-Commerce
สิ่งสำคัญที่นำมาสู่การผลักดันให้เกิด M-Commerce คือ
- แนวโน้มรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์ต่อหมายลดลง ทำให้ผู้ให้บริการต้องพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านข้อมูลใหม่ๆ โดยเฉพาะการสื่อสารความเร็วสูง (Broadband) ที่เป็นเป้าหมายหลักในการทำรายได้ในอนาคต
- แรงผลักดันในการสร้างตลาดพีดีเอในอุตสาหกรรมไอที เพื่อทดแทนรายได้ที่หายไปจากการแข่งขันในตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์และ Notebook และสร้างรายได้ที่เกิดจากสายผลิตภัณฑ์ใหม่
- การขยายตัวของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มผู้บริโภค จากการทำตลาดที่เน้นการขายบริการในลักษณะของ Pre-paid ในขณะที่นวัตกรรมด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้รับการพัฒนาให้เน้นความสามารถในการสื่อสาร การรับส่ง E-mail และการพัฒนาขึดความสามารถด้านซอฟต์แวร์เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ทัดเทียมกับอุปกรณ์พีดีเอ
- การให้บริการผ่านระบะ SMS ยังเป็นสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้ใช้ที่แต่เดิมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการสื่อสารเพียงอย่างเดียว
- ความต้องการเข้าถึงข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในเวลาและสถานที่ที่ต้องการตลอดจน Access เว็บไซต์ต่างๆ
เนื่องจากธุรกิจในรูปแบบของ M-Commerce จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสื่อสาร และเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบ M-Commerce เข้าด้วยกัน โดยปัจจุบันมีการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมไร้สายเป็นระบบเครือข่ายพื้นฐานทางด้านฮาร์ดแวร์ และใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งเทคโนโลยีซอร์ฟแวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา WAP ซึ่งช่วยให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานประสานกันได้เป็นหนึ่งเดียว โดยสามารถสรุปเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้
1. โครงข่ายโทรคมนาคมไร้สาย เป็นโครงข่ายดิจิตอลที่มีการส่งผ่านข้อมูลในลักษณะ IP (Internet Pocket) โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็ค และทำการส่งข้อมูลเป็นช่วงๆ ทำให้สามารถส่งข้อมูลจากหลายแหล่ง และหลายๆข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียว เช่น รับภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้พร้อมๆ กัน อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการสื่อสารลักษณะนี้จะต้องมีประสิทธิภาพสูงมาก และมีขนาดเล็กพอที่จะสามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือมือถือ, มินิโน๊ตบุค, Palm, PDA ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดอุปกรณ์สื่อสารไร้สายมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการแข่งขันกันสูง
2. อินเตอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต การศึกษา การทำธุรกิจ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และอื่นๆ เนื่องจากอินเตอร์เน็ตช่วยให้การสื่อสารระหว่างกันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น การติดต่อกับผู้คนในอีกซีกโลกเป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวก และรวดเร็ว สามารถพูดคุย ประชุม ส่งไปรษณีย์ ผ่านทางโลก World Wide Web ที่มีข้อมูลต่างๆ มากมาย และประเด็นที่สำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้อินเตอร์เน็ตมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับคุณภาพ และศักยภาพที่ได้รับ
3. WAP ( Wireless Application Protocol) เป็นเทคโนโลยีทางด้านภาษาที่ใช้ในเขียนโปรแกรมเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านทางเว็บไซด์ ซึ่งใช้งานผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากการเปลี่ยนอุปกรณ์รับปลายทางจากคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ภาษา HTML ( Hypertext Markup Language) ในการเขียน Web ซึ่งมีขนาดใหญ่ มาเป็นอุปกรณ์มือถือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก จึงมีการพัฒนาโปรแกรมให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ ภาษาที่ใช้ได้แก่ WAP เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมผ่านทางมือถือโดยเฉพาะ ดังจะเห็นได้จากการชำระค่าสินค้า หรือบริการผ่านทางโทรศัพท์มือถืออย่าง mPAY ของ AIS หรือการเรียกดูข้อมูลข่าวสารแบบเรียลไทม์ การโอนเงิน จองตั๋วภาพยนตร์ ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีจำนวนมากกว่าผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้งานของโทรศัพท์มือถือก็สะดวกกว่า ดังนั้นศักยภาพของตลาดมือถือจะยังคงเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว
ในปัจจุบันการบริการ M-Commerce เป็นบริการที่บริษัทผู้ให้บริการเครื่อข่ายมือถือ จับมือกับร้านค้าและธนาคาร ร่วมกันให้บริการสั่งซื้อของผ่านโทรศัพท์มือถือคล้ายกับการให้บริการ E-Commerce เช่น บริการที่  AIS ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย และโรงภาพยนตร์ Major Ceneplexให้บริการสั่งซื้อตั๋วภาพยนตร์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ GSM ได้ ซึ่งลูกค้าสามารถจ่ายเงินได้ด้วยบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย บัตร VISA และ Master Card ของทุกธนาคาร โดยผู้ซื้อไม่ต้อวมีการแจ้งขอใช้บริการกับธนาคารล่วงหน้า หรือเลือกจ่ายค่าตั๋วพร้อมกับค่าใช้โทรศัพท์มือถือก็ได้ โดยลักษณะของบริการจะคล้ายกับในบริการ Mobile Banking ผ่านอินเตอร์เน็ต ในระบบดังกล่าวผู้ให้บริการจะมีวงจรที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรงและมีการเข้ารหัสข้อมูลเช่นกันเพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ส่วนกระบวนการเรียกเก็บเงินระหว่างภาพยนตร์และธนาคารก็จะเป็นไปตามระบบปกติ การที่ธนาคารให้บริการรับชำระค่าจองตั๋วนี้ ธนาคารจะได้รับค่าธรรมเนียมจากโรงภาพยนตร์ 3% ในขณะที่ลูกค้าจะเสียค่าโทรศัพท์ในการโทรออกครั้งละ 6 บาท แต่ลูกค้าก็จะได้รับความสะดวกไม่ต้องเสียเวลาเข้าคิวซื้อตั๋วเอง Mobile Internet เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้จากโทรศัพท์มือถือทุกที่ทุกเวลา โดยไม่มีค่าบริการรายเดือนและไม่ต้องมี Internet Account พิเศษในการเชื่อมต่อสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารจากทั้งผู้ให้บริการทั่วโลกในอัตราค่าบริการเดียวกัน ใช้บริการต่อเนื่องจาก Internet Site ทั่วไปได้อย่างไม่มีรอยต่อ  เช่น การอ่าน E-mail  การใช้บริการ Personal Information Management การเล่นเกมส์ และอื่นๆอีกมากรวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย นอกจากนั้นองค์กรและบริษัทต่างๆ สามารถให้บริการข้อมูลภายในองค์กรในระบบ Internet ผ่านทางอินเตอร์เน็ตบนมือถือและเชื่อมต่อกับระบบปัจจุบันได้อีกด้วย ตัวอย่างบริการ Mobile Internet ได้แก่ บริการ djuice ของ DTAC และบริการ Mobile Life Intranet ใน mPocket4u ของ AIS เป็นต้น สำหรับตัวอย่างบริการ Mobile Internet สำหรับองค์กร ได้แก่ บริการ DTAC Corporate Mail สามารถให้พนักงานในองค์กรต่างๆ สามารถเข้าดูและเช็ค E-mail ที่มช้ในบริษัทได้อย่างสะดวกสบายบนโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งาน WAP ไม่ว่าบริษัทนั้นๆ จะใช้เมล์เซิร์ฟเวอร์ใดก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันเองหลายท่านคงเห็นบริการที่ทุกค่ายได้ชูเป็นจุดขายตามกระแสความต้องการ คือ BlackBerry ซึ่งเป็นการให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ตและอีเมล์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่และจุดนี้เองทำให้เห็นภาพอนาคตของ M-Commerce ว่าจะมีไปในทิศทางใด
จะเห็นได้ว่าในช่วงของปีที่ผ่านมานั้น เครือข่ายต่างๆพยายามที่จะพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ยุค 3G ได้ เมื่อมีเครือข่ายที่มีความเร็วสูงแล้วเครื่องโทรศัพท์หรืออุปกรณ์พกพาที่ทันสมัยและมีความสามารถสูง เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ จะเห็นได้ว่ามีการโฆษณาว่าเครื่องโทรศัพท์นั้นสามารถรองรับในเรื่องของ 3G ซึ่งหมายถึง ทำให้การติดต่อสื่อสารสามารถรับส่งได้ทั้งเสียง ข้อมูล และวีดีโอพร้อมกัน รวมไปถึงความสามารถของกล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ และวิทยุ ที่อยู่ในตัวโทรศัพท์มือถือด้วย และอีกบริการหนึ่งที่เชื่อว่าจะได้เห็นในอนาคตอันใกล้ ก็คือการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แทนกระเป๋าเงินหรือเงินสด ซึ่งในอนาคตการซื้อสินค้าในร้านร้านสะดวกซื้อเราอาจเพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือในการชำระเงิน เพียงแค่นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำการสแกนผ่านเคลื่อนรับชำระเงิน
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรื่องอขงกฎหมายที่ออกมารองรับการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการรักษาความปลอดภัย ของข้อมูลและการทำธุรกรรม รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค วึ่งอาจจะต้องมีกฎหมายเฉพาธุรกิจแบบ M-Commerce เนื่องจากปัจจุบันยังเป็ยการใช้กำหมายร่วมกับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ซึ่งมีกฎหมายอยู่ทั้งหมด 6 ฉบับ คือ                        
1. ร่างพระราชบัญญัติกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ร่างพระราชบัญญํติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
4. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วยบุคคล
5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
6. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
และการที่จะทำให้บริการต่างๆประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับบริการนั้นตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด ค่าบริการเหมาะสมและคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไรก็ตามธุรกิจบนมือถือน่าจะมีแนวโนมเติบโตขึ้นอีกมากและจำนวนผู้ใช้มือถือก็น่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หรือNotebook หลายเท่าอย่างแน่นอน ตามที่ได้คาดการณ์ไว้และในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็นยุคที่ 3G ของมือถืออย่างสมบูรณ์แบบในประเทศไทยเรา
อนาคตของ M-Commerce ในประเทศไทยและต่างประเทศ มีแนวโน้มว่าเครือข่ายน่าจะถูกพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นเข้าสู้ยุค 3G เมื่อมีเครือข่ายที่มีความเร็วสูงแล้ว เครื่องโทรศัพท์หรืออุปกรณ์พกพาที่ทันสมัยและมีความสามรถสูง เช่น โทรศีพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ Smart Phone และ Communicator ก็จะได้ใช้งานกันอย่างเต็มที่อีกด้วย ทำให้รับส่งได้ทั้งเสียง ข้อมูล ภาพ และวีดีโอ พร้อมกัน รวมไปถึงความสามารถของกล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ และวิทยุ ที่อยู่ในตัวโทรศัพท์มือถือด้วย ด้านการบริการก็จะมีโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น Locationbased Application หรือ Mobile Service Location เป็นการให้บริการตามพื้นที่ที่คุณอยู่ในขณะนั้น หรือเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับเวลาที่ต้องการในขณะนั้นทันที บริษัทซีพีออเร้นจ์ ซึ่งเกิดจากการร่วมมือระหว่างบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ กับบริษัทออเร้นจ์ เอสเอ ของสหราชอาณาจักร แต่อีกสาขาหนึ่งซีพีก็ก่อตั้ง โครงการมัลติแอคเซส พอทัล (Multi-access Portal) หรือ MAP ซึ่งมีรายใหญ่ทางธุรกิจหลายรายเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นUBC หรือ MWEB  ส่วนทางด้าน DTAC ก็ได้ทำการเชื่อมโยงเอาระบบ djuice ที่มีอยู่ต่อเข้ากับ รักบ้านเกิด ที่รับสินค้าจากจุดแข็ง ต่อเข้ากับสหกรณ์ชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ สร้างกระบวนการสั่งซื้อ-สั่งขายสินค้าผ่านระบบโทรศัพท์มือถือของ DTAC ส่วนทางด้าน AIS ก็ได้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่  นอกจากนั้น ก็อาจมรการนำระบบมาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบที่ใช้อยู่ภายในองค์กร มีระบบที่เป็น m2m (Machine to Machine) ที่สามารถสั่งงานผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ทำงานเองตามเงื่อนไขของระบบที่ได้ตั้งไว้ ถ้ามีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยี Bluetooth ร่วมด้วยก็จะทำให้มีบริการที่อุปกรณ์มือถือสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆแบบไร้สายได้ด้วย สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริการต่างๆประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการบริการนั้นตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด ค่าบริการเหมาะสมและคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไรก็ตามกิจกรรมบนมือถือน่าจะมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากและจำนวนผู้ใช้มือถือน่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ใช้ PC หรือ Notebook หลายเท่า และในอนาคตอันใกล้อาจได้เห็นยุค 4G ของโทรศัทพ์มือถือ
ทิศทางในอนาคตของ M-Commerce  การทำการตลาดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่นับได้ว่าในปัจจุบันมีการทำการตลาดประเภทนี้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับการบริการที่หลากหลายบริษัทมีความสนใจในการทำการตลาดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บริการได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผู้ใช้บริการทุกคนมีอยู่แล้วนั้นก็คือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บริการได้ตรงจุดที่สุดและประกอบกับขีดความสามารถของเทคโนโลยีในโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และโปรแกรมการใช้งานก็มีหลากหลาย ธุรกิจหลายธุรกิจจึงเริ่มที่จะหันมาทำการตลาดบนมือถือ (Mobile Marketing) เพราะ Mobile Marketing มีความโดดเด่น ตรงใจ สะดวก รวดเร็ว โดยการประยุกต์เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบริการแก่ลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น Mobile Message, Mobile Advertising, Mobile Marketing, Mobile Education เป็นต้น และผู้ผลิตเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้มีการพัฒนาโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ในด้านการติดต่อสื่อสารและเพิ่มความสะดวกในการนำไปประยุกต์ใช้ในลักษณะต่างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาและมีการเพิ่มขึ้นของซอฟต์แวร์ Mobile Application มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี จะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตของซอฟต์แวร์ Mobile Application นั้นเนื่องมาจากกลุ่มลูกค้าภาคเอกชน ซึ่งมีความต้องการด้านเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งนี้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พบว่าผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น มีความสนใจการชำระค่าบริการต่างๆ ชมทีวีออนไลน์ และสนทนาออนไลน์ ซึ่งจะเห็นว่าผู้ใช้บริการเริ่มให้ความสนใจกับบริการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจุดนี้ขึ้นอยู่กับธุรกิจต่างๆที่จะนำบริการเหล่านี้มาอยู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นนับได้ว่าธุรกรรมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce) นับได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานโครงสร้างของโทรคมนาคม ว่าจะสามารถตอบสนองกับโปรแกรมการใช้งานต่างๆ ที่บริษัทเอกชนกำลังพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งเมื่อดูผลการสำรวจแล้วพบว่ามีความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานของผูใช้บริการได้ตามแนวโน้มในอนาคตนั่นเอง
ด้วยการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์ไร้สายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งาน และสร้างโอกาสในการทำธุรกรรมให้สามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น M-Commerce จึงเป็นการจัดการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และทำธุรกรรมในทุกแห่งอย่างไร้ข้อจำกัด ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ หรือความสะดวกในการใช้งาน ส่งผลให้ M-Commerce เป็นทั้งนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ความสำเร็จของ M-Commerce จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ M-Commerce อีกด้วย ดังนั้น อัตราการเติบโตของธุรกิจ M-Commerce จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป
M-Commerce มีการใช้งานในรูปแบบต่างๆดังนี้
การซื้อขายหุ้นแบบออนไลน์ (Online stock trading) ที่ดำเนินการซื้อขายกันทั่วโลกอย่าง I-MODE  ในญี่ปุ่น และดำเนินการธุรกรรม (E-Trade) กับประเทศต่าง ๆ ส่วน Dagens Industri ของสวีเดนได้ให้ลูกค้าซื้อขายหุ้นในตลาด Stockholm Exchange และรับข้อมูลทางการเงินด้วย Personal Digital Assistant (PDA) ทำให้สามารถซื้อขายหุ้นจากที่ต่าง ๆ  ธนาคารออนไลน์ (Online Banking) หรือ Mobile Banking ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ธนาคารซิตี้แบงก์ได้มีบริการ Mobile banking ในสิงคโปร์ ฮ่องกง และอีกหลายประเทศ การใช้จ่ายย่อย (Micropayment) สำหรับผู้บริโภคในญี่ปุ่นได้ใช้โทรศัพท์มือถือใช้จ่ายผ่าน Vending  machine ส่วนลูกค้าในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย สามารถจ่ายค่าจอดรถ ค่าล้างรถ น้ำมันรถ และการจ่ายค่าเครื่องดื่มจาก Vending machine ในประเทศเยอรมันลูกค้าสามารถจ่ายค่าโดยสารและค่าแท็กซี่ผ่านโทรศัพท์มือถือ การพนันทางออนไลน์ (Online Gambling) สำหรับในฮ่องกง ได้มีการใช้ Cell Phone เพื่อการพนันแข่งม้า การสั่งซื้อและบริการ (Ordering and service) บริษัท Barnes & Noble ให้บริการลูกค้าสำหรับการดาวน์โหลดเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือ และ PDA การประมูลทางออนไลน์ (Online auctions) อย่าง QWL.com ประเทศอังกฤษ ได้ให้ลูกค้าเปิดผ่านเว็บไซต์ และเปิดประมูลโดยผ่าน Cell Phone รวมทั้ง e-Bay ก็ได้ดำเนินธุรกิจการประมูลทางออนไลน์ผ่าน Cell phone เช่นกัน ระบบข้อความ (Messaging system ) การส่งอีเมล์ผ่านทาง Mobile Internet หรือที่เรียกว่า Short Messaging Service (SMS) ในเดือนสิงหาคมปี ค..2000 ได้มีการส่งและรับข้อความทั่วโลกประมาณหนึ่งหมื่นล้านข้อความ และเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในต้นปี ค.. 2001 การประยุกต์ใช้งานทาง B2B (B2B applications) ด้วยการนำ M-Commerce สำหรับการเก็บและประเมินผลข้อมูลเพื่อใช้สำหรับตัดสินใจ โดยพนักงานที่อยู่ห่างไกล (Remote employees) สามารถดำเนินธุรกรรมได้ เช่น การตรวจสอบระดับสินค้าคงคลัง หรือดำเนินการสั่งซื้อขณะที่กำลังปฏิบัติงานในภาคสนาม การทำธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโทรศัพท์มือถือส่วนมากเป็นการซื้อขายสินค้า การชำระค่าบริการ หรือว่าการทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ธุรกิจข่าวสารที่รายงานข่าวทางโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจบันเทิง การจองตั๋วหนัง การโหวตคะแนนให้กับศิลปินที่ชื่นชอบ ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม การจองตั๋วที่พักโรงแรมและรีสอร์ท การดูข้อมูลท่องเที่ยวระหว่างเดินทาง หรือการค้าหาร้านอาหารอร่อยในที่ต่าง ๆ ธุรกิจที่ได้กล่าวมานั้นน่าจะเป็นประโยชน์จากการทำ M-Commerce มากที่สุด เนื่องจากคนไทยมีความนิยมใช้โทรศัพท์มือถือติดอันดับโลกทีเดียว
ประโยชน์ของ M-Commerce คือ
- ช่วยให้สามารถสั่งซิ้อสินค้าได้โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปซื้อด้วยตนเองและสามารถเรียกเก็บเงินได้จากค่าบริการรายเดือน หรือ จ่ายผ่านบัตรเครดิตของธนาคารที่เรียกว่า M-Banking ได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย
- ผู้ใช้บริการสามารถที่จะสั่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการได้ตามต้องการไม่ว่าตอนนั้นผู้ใช้จะอยู่ที่ไหน
- สามารถให้บริการข้อมูลภายในองค์กรในระบบ Intranet ผ่านทางอินเตอร์เน็ตบนมือถือและเชื่อมต่อกับระบบปัจจุบันได้อีกด้วย เช่น บริการ Mobile Internet
- สามารถให้พนักงานในองค์กรต่างๆ สามารถเข้าดูและเช็ค E-mail ที่ใช้ในบริษัทได้อย่างสะดวกสบายบนโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้ WAP ไม่ว่าบริษัทนั้นๆจะใช้เมล์เวิร์ฟเวอร์ใดก็ตาม
- Mobile Internet เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้จากโทรศัพท์มือถือทุกที่ทุกเวลาโดยไม่มีค่าบริการายเดือนและไม่ต้องมี Internet Account พิเศษในการเชื่อมต่อ
- สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารจากทั้งผู้ให้บริการทั่วโลก ในอัตราค่าบริการเดียวกัน ใช้บริการต่อเนื่องจาก Internet Site ทั่วไปได้อย่างไม่มีรอยต่อ เช่น การอ่าน E-mail การเล่นเกมส์ เป็นต้น
Mobile Commerce รูปแบบใหม่ ภายใต้ 3G  ที่ผ่านมาเรากล่าวถึงปรธโยชน์ของ 3G ด้านการศึกษา การแพทย์ เศรษฐกิจ ทว่า 3G ยังมีประโยชน์ในด้านที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ด้านของการส่งเสริมการค้า M-Commerce, E-commerce ปัจจัยที่ทำให้ 3G มีประโยชน์หลากหลายส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการรับ ส่ง ข้อมูลความเร็วสูง  ผนวกกับความสามารถของอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีเก้าหน้าขึ้นทุกวันๆ ทำให้การ Access website ต่างๆ เพื่อเข้าไปทำธุรกรรมมีความคล้องตัวขึ้น เพราะข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูงขึ้น การเลือกซื้อสินค้าจึงไม่จำเป็นต้องนั่งอย฿หน้าคอมพิวเตอร์เสมอไป กรณีนี้มีตัวอย่าง ได้ชัดคือ การทำธุรกรรมซื้อขาย ผ่าน eBay ซึ่งเราสามารถทำธุรกรรมได้จากทุกที่ และสามารถเลือกดูภาพสินค้าที่ต้องการซื้อได้แบบ Multi Media สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการใช้ 3G เข้ามาสนับสนุนระบบ M-Commerce คือการประยุกต์ Mobile Commerce เข้ากับเทคโนโลยี Location Base เพื่อหาพิกัดหรือส่งเสริมร้านค้า ทุกวันนี้เราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่น access เข้าไปยังแผนที่ต่างๆผ่านระบบGPS ได้ เพื่อค้นหาตำแหน่งร้านอาหาร ป๊มน้ำมัน ต่างๆ ทว่า การที่เรายังไม่มี 3G ทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่เป็น realtime เพราะข้อมูลที่มีความละเอียดเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี 3G ในการแสดงผล หากเป็นต่างประเทศ จะสามารถทำได้จนถึงการ booking ต่างๆ แม้กระทั่งการจองตำแหน่งที่นั่งในร้านอาหาร นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้กับระบบการ tracking ต่างๆ เช่น การติดตามรถถบรรทุกสินค้า ไปจนถึงรถบรรทุกวัตถุอันตรายต่างๆ ที่ทำได้ตลอดเวลาแบบ realtime ที่สำคัญผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการ tracking ไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาแต่สามารถ access เข้าสู่ระบบจากที่ไหนก็ได้ที่น่าสนใจคือการประยุกต์ระบบ tracking เข้ากับ service ต่างๆ ที่ต้องอาศัยการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ ธุรกิจประกันภัยต่างๆ ที่การ tracking สามารถระบบเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ใกล้ลูกค้าที่สุด ทำให้การบริการมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่ Location Base จะนำมาใช้กับธุรกรรมส่งเสริมการขายหรือ service ต่างๆ ที่ต้องมีการทำงานในลักษณะ On Site และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการซื้อของออนไลน์ต่างๆ เช่น เพลง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยได้รับความนิยมพอสมควร เพียงแต่อุปกรณ์สำคัญคือ application เหล่านี้ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโครงข่ายสูง เนื่องจาก Content ต่างๆที่ซื้อผ่านออนไลน์อาจเป็นเพลงทั้งเพลงหรทอ หนังสือทั้งเล่ม หากผู้ใช้ต้องเสียเวลาในการ download ที่นานมาก จะเกิดความเบื่อหน่ายการมร 3G จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนธุรกรรมเหล่านี้ ทว่า Mobile Commerce ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ แต่ยังมีการทำธีกรรมในส่วนของตลาดหุ้น ตั้งแต่การแจ้งราคาไปจนถึงการซื้อขาย
M-Commerce หรือ M-Banking บริการการเงินบนโทรศัพท์มือถือนั้นถูกมองว่าเป็นเทนรด์แรงของโลกในทุกๆปึ แต่กลับมีอิทธิพลเท่าที่ควรในประเทศไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้ทุกธนาคารจะมีการให้บริการแล้ว แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่เสมอคือความมั่นใจผู้บริโภค และพฤติกรรมการซื้อของคนไทยที่ไม่เอื้ออำนวยฉะนั้น ความชัดเจนว่ากระแสอินเตอร์เน็ตร้อนแรงในปี 2010 จะช่วยกระตุ้นให้บริการการเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เติบโตขึ้นจึงถูกสั่นคลอนเพราะความไม่มั่นใจของผู้บริโภค  M-Commerce ในปีนี้จึงยังไม่มีทิศทางชัดเจนว่าจะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมากน้อยเท่าใด


               






















เอกสารอ้างอิง

จอมขวัญ เขียวคำจีน.  2551.  แนวทางในการพัฒนาการให้บริการ M-Commerce ในประเทศไทย.  ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศริรพร อ่วมมีเพียร.  2552.  การพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce)  [ online ].  Available : http://siriporn-ju.blogspot.com/2009/02/blog-post_21.html